- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 ก.ค.58
ข่าวสัปดาห์ วันที่ 20-26 กรกฎาคม 2558
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,675 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,670 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,313 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,050 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าว 20-26 ก.ค. 58
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
การผลิต
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ฝ้ายโลก ปี 2558/59 ว่ามี 24.92 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 24.14 ล้านตันของปี 2557/58 ร้อยละ 3.23 ด้านการนำเข้า คาดว่าจะมี 7.41 ล้านตัน ลดลงจาก 7.53 ล้านตันของปี 2557/58 ร้อยละ 1.59 ด้านการส่งออก คาดว่าจะมี 7.41 ล้านตัน ลดลงจาก 7.53 ล้านตันของปี 2557/58 ร้อยละ 1.59
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 10 เดือน กรกฎาคม 2558)
หน่วย : ล้านตัน
รายการ |
ปี 2558/59 |
ปี 2557/58 |
ผลต่างร้อยละ |
24.16 |
22.38 |
7.95 | |
ผลผลิต |
24.27 |
25.91 |
-6.33 |
ใช้ในประเทศ |
24.92 |
24.14 |
3.23 |
นำเข้า |
7.41 |
7.53 |
-1.59 |
ส่งออก |
7.41 |
7.53 |
-1.59 |
สต็อกปลายปี |
23.54 |
24.16 |
-2.57 |
ที่มา : Cotton World markets and trade, USDA ประจำเดือนกรกฎาคม 2558
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก ประกอบกับเข้าสู่ฤดูฝนทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคชะลอตัวลง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.12 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.83 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,000 บาท (บวกลบ 66 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ค่อนข้างคึกคัก ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัม 41.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 30.29 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 47.94 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 40.56 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 43.75บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 275 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 274 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 269 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 260 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.00 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 13.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 23.08
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 332 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 321 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 323 บาท
ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 106.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 106.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 110.13 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.99 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 102.20 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 114.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 83.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 93.11 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.22 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ข่าวรายสัปดาห์ 20-26 ก.ค. 58
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,015.60 เซนต์ (12.94 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,036.40 เซนต์ (13.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.01
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 359.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.47 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 368.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.32
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.65 เซนต์ (24.18 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 32.21 เซนต์ (24.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.74
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.99
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ (ชนิดดี) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา (ชนิดรอง) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานภาวะการผลิตถั่วลิสงโลก ปี 2558/59 ประจำเดือนกรกฎาคม 2558
ว่ามีผลผลิต 41.42 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 39.32 ล้านตัน ของปี 2556/57 คิดเป็นร้อยละ 5.34 หรือคิดเป็นร้อยละ 7.79 ของผลผลิตพืชน้ำมันของโลกรองจากถั่วเหลือง เรปซีด และเมล็ดฝ้าย ซึ่งมีปริมาณ 318.92 ล้านตัน 67.18 ล้านตัน และ 42.07 ล้านตัน ตามลำดับ
รายการ |
2558/59 |
2557/58 |
ผลต่างร้อยละ |
41.42 |
39.32 |
5.34 | |
นำเข้า |
2.46 |
2.42 |
1.65 |
ส่งออก |
2.93 |
2.70 |
8.52 |
สกัดน้ำมัน |
17.90 |
17.64 |
1.47 |
สต็อกปลายปี |
2.71 |
2.00 |
35.50 |
ประเทศ |
2558/59 |
2557/58 |
ผลต่างร้อยละ |
สาธารณรัฐประชาชนจีน |
16.70 |
16.50 |
1.21 |
อินเดีย |
5.40 |
4.80 |
12.50 |
อื่น ๆ |
19.32 |
18.02 |
7.21 |
รวม |
41.42 |
39.32 |
5.34 |
ข่าวสัปดาห์ 20 - 26 ก.ค. 58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.46 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.03 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.35 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.93 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.58 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.32
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.71 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 320.60 ดอลลาร์สหรัฐ (10,966 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 320.40 ดอลลาร์สหรัฐ (10,825 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 141.00 บาท
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2558/59 ว่ามี 991.10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 982.51 ล้านตันในปี 2557/58 ร้อยละ 0.87 เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อียิปต์ แคนาดา อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ อาร์เจนตินา รัสเซีย และฟิลิปปินส์ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 125.34 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 122.58 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 2.25 เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย ปารากวัย อินเดีย และพม่า ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เกาหลีใต้ อียิปต์ โคลัมเบีย ซาอุดิอาระเบีย ไต้หวัน แอลจีเรีย มาเลเซีย และโมร็อกโค มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2558 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุซเชลละ 407.48 เซนต์ (5,551 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 434.64 เซนต์ (5,850 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.25 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 299.00 บาท
บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก
(คาดคะเนเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558)
หน่วย : ล้านตัน
รายการ |
ปี 2558/59 |
ปี 2557/58 |
ผลต่างร้อยละ |
สต็อกต้นปี |
193.95 |
174.73 |
11.00 |
ผลผลิต |
987.11 |
1,001.74 |
-1.46 |
นำเข้า |
125.34 |
122.58 |
2.25 |
ส่งออก |
125.34 |
122.58 |
2.25 |
ใช้ในประเทศ |
991.10 |
982.51 |
0.87 |
สต็อกปลายปี |
189.95 |
193.95 |
-2.06 |
ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี